กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6373
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ในจังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of efficiency indicators of the community in preventing and solving children and youths problems in Nonthaburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพักตร์ พิบูลย์ วิมล สุวรรณโชติ, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมคิด พรมจุ้ย |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ ประสิทธิภาพ -- การประเมิน เด็กที่เป็นปัญหา -- การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของชุมชน ในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ในจังหวัดนนทบุรี และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของชุมชน ในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเด็กและเยาวชน ในจังหวัดนนทบุรีกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลและกลุ่มชุมชนเพื่อการตรวจสอบคุณภาพของ ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของชุมชน ในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน รวม 20 คน (2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ในชุมชน จังหวัดนนทบุรี จำนวน 228 ชุมชน และ (3) กลุ่มตัวอย่างชุมชนที่มีผลการตัดสินจากโครงการการพัฒนาชุมชนดีเด่นในระดับสูงและกลุ่มชุมชนทั่วไป จำนวน 20 ชุมชน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้แทนชุมชน จำนวน 20 คน โดยทั้ง 3 กลุ่มใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเภทมาตรประมาณค่า และแบบประเมินชนิดมาตรประมาณค่าเชิงพฤติกรรม สถิติทึ่ใข้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัย ปรากฎว่า ได้ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็ก และ เยาวชน ในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 30 ตัวบ่งชี้ คือ (1) องค์ประกอบด้านปัจจัย นำเข้า 9 หัวบ่งชี้ (2) องค์ประกอบด้านกระบวนการ I I หัวบ่งชี้ และ (3) องค์ประกอบด้านผลผลิต 10 ตัวบ่งชี้ สำหรับผลการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน พบว่า มีความตรงตามโครงสร้าง กล่าวคือ สามารถจำแนกความแตกต่างด้านประสิทธิภาพของชุมชนกลุ่มรู้ชัด โดยปรากฏคะแนนผลการประเมินในกลุ่มชุมชนพัฒนาดีเด่น สูงกว่ากลุ่มชุมชนทั่วไป อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระด้บ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6373 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
122372.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License