Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6398
Title: การบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านคุณธรรมด้านความโปร่งใสและด้านความคุ้มค่าของผู้บริหารตามการรับรู้ของข้าราชการโรงเรียนเตรียมทหาร
Other Titles: Academic administration through good governance in the Aspects of Morality, accountability and cost-effectiveness as perceived by Armed Forces Officers in Armed Forces Academies Preparatory School
Authors: เข็มทอง ศิริแสงเลิศ
กิตติกร สุขทวี, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ธรรมรัฐ
โรงเรียนเตรียมทหาร--การบริหาร
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการโดยใช้หลัก ธรรมาภิบาลด้านคุณธรรม ด้านความโปร่งใส และด้านความคุ้มค่าของผู้บริหาร ตามการรับรู้ของข้าราชการโรงเรียนเตรียมทหาร (2) ศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ โดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านคุณธรรม ด้านความโปร่งใสและด้านความคุ้มค่าของผู้บริหาร ตามการรับรู้ของข้าราชการโรงเรียนเตรียมทหารกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการโรงเรียนเตรียมทหารที่ทำงานด้านวิชาการ จำนวน 132 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่าซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ตามการรับรู้ของข้าราชการโรงเรียนเตรียมทหาร ผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาลด้านคุณธรรม ด้านความโปร่งใสและด้านความคุ้มค่าในการบริหารงานวิชาการ ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีการปฏิบัติในระดับมากกว่าด้านอื่นผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาลด้านคุณธรรมในการบริหารงานวิชาการมากกว่าด้านความโปร่งใส และด้านความคุ้มค่า และ (2) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการทั้ง 6 ด้าน โดยใช้หลัก ธรรมาภิบาลด้านคุณธรรม ความโปร่งใส และความคุ้มค่า ของผู้บริหารการศึกษาโรงเรียนเตรียมทหาร พบว่ามีกิจกรรมนอกหลักสูตรมากจนกระทบต่อการเรียนการสอน ขาดเอกลักษณ์ในการทำหลักสูตรโรงเรียนเฉพาะทาง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแผน และขาดการนำผลวิจัยมาปรับปรุงการเรียนการสอน ข้อเสนอแนะ คือ ควรปรับหลักสูตรให้มีเอกลักษณ์ของโรงเรียนเฉพาะทาง ลดกิจกรรมนอกหลักสูตร ส่งเสริมการทำวิจัย ผู้บริหารควรศึกษาหาความรู้และจัดอบรมบุคลากรเพิ่มเติม และให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6398
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_148754.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.36 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons