Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6400
Title: การพัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่องการออกแบบพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคาทอริค สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Computer-based learning packages via network on the topic of basic design in the arts for Mathayom Suksa II students of Catholic School under the Bangkok Diocese
Authors: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมเชาว์ เนตรประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ใจทิพย์ ณ สงขลา, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกศักดิ์ อุ่นศิริ, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
การสอนด้วยสื่อ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่ม สาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการออกแบบพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ศึกษา ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการออกแบบพื้นฐาน และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการ เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการออกแบบพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ หลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่ม สาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการออกแบบพื้นฐาน ประกอบด้วยจำนวน 3 หน่วย คือ หน่วยที่ 9 การ ออกแบบสัญลักษณ์หน่วยที่ 10 การออกแบบตัวอักษร และหน่วยที่ 11 การออกแบบลวดลาย (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็น นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าประสิทธิภาพด้วยค่า E1/E2 การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วยมี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (E,/E2 มีค่าดังนี้ 78.83/78.05, 79.66/78.33,77.61/78.88 ตามลำดับ) (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย มีความก้าวหน้าทางการเรียน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนด้วย คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6400
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
124339.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons