Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6433
Title: ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี
Other Titles: Legal problem relating to prostitution
Authors: สุจินตนา ชุมวิสูตร
ณัฐวุฒิ คงไข่, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: การค้าประเวณี--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการค้าประเวณี (2) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณี โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ และ (3) เสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีในประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยจากเอกสาร ข้อมูล การศึกษาทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ ตัวบทกฎหมาย ตำรา บทความ ระเบียบวิธีปฏิบัติ และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมายการค้าประเวณี ผลการศึกษา พบว่า (1) กฎหมายการค้าประเวณีในประเทศไทยบัญญัติให้การค้าประเวณีโดยสมัครใจเป็นความผิด อันทำ ให้การค้าประเวณียังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม (2) ภาครัฐไม่สามารถควบคุมดูแลผู้ค้าประเวณีในเรื่องสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยในชีวิต และร่างกายของผู้ค้าประเวณี และการถูกเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อเทียบกับต่างประเทศ พบว่าภาครัฐมีการส่งเสริมให้การค้าประเวณีให้ดำรงอยู่ และเติบโตขึ้นเป็นธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างรายให้กับตนเอง และครอบครัว อีกทั้งเป็นตัวช่วยค้ำจุนความอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจในภาวะวิกฤติการณ์อีกด้วย (3) ผู้ศึกษาเห็นควรกาหนดให้การค้าประเวณีในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด โดยการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีให้ได้รับสิทธิต่าง ๆ จากรัฐ และภาครัฐก็สามารถควบคุมดูแลผู้ค้าประเวณีในด้านต่างๆ ได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ค้าประเวณีได้อีกทางหนึ่ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6433
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons