กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/643
ชื่อเรื่อง: | ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก : กรณีศึกษาหมู่บ้านญวน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Changing way of life of Catholic Thai-Vietnamese in Thailand : a case study of the "Juan" Village, Ongkarak District, Nakhon Nakhon Nayok Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวิทย์ ไพทยวัฒน์ วริษา วงษ์วิเชียร, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ไพฑูรย์ มีกุศล เสาวภา ไพทยวัฒน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ชาวเวียดนาม--ไทย--นครนายก ชาวเวียดนาม--ความเป็นอยู่และประเพณี คริสต์ศาสนากับสังคม--ไทย--นครนายก |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมาในการตั้งถิ่นฐานของคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสฅ์นิกายโรมันคาทอลิกในอำเภอองครักษ์จังหวัดนครนายก (2) ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในหมู่บ้าน (3) สภาพวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมในปัจจุบันการวิจัยเน้นแบบเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม และรวมถึงการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าครอบครัวชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ผู้รู้ และผู้ที่เกี่ยวข้องผลการวิจัย พบว่า 1. ถิ่นเดิมของคนไทยเชื้อสายเวียดนามในหมู่บ้านญวน อำเภอองครักษ์จังหวัดนครนายก ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ได้อพยพมาจากชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่สามเสน และเข้ามาอยู่ในอำเภอองครักษ์ ก่อน พ.ศ. 2446 การเข้ามาครั้งแรกนั้นได้ประกอบอาชีพเกษตร ทำไร่ การประมงน้ำจึด และการทอเสื่อเพื่อเลี้ยงครอบครัวมาโดยตลอด จากการที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านญวนแห่งนี้กว่า 100 ปี ทำใหัวิถีชีวิตในปัจจุบันแตกต่างจากอดีต เนื่องจากความเจริญต่าง ๆ ได้แผ่ขยายเข้ามาในหมู่บ้าน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเกือบทุกด้าน และพยายามปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทย 2. ปัจจัยที่ทำใหัเกิดการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ 2 ปัจจัย ถือ ปัจจัยภายใน เกิดจากชาวเวียดนามรุ่นใหม่มีความเป็นคนไทยพูดภาษาท้องถิ่นน้อยลง ดำเนินชีวิดแบบคนไทยทุกประการมีความรู้สึกว่าเขาเป็นคนไทย และชาวเวียดนามรุ่นเก่าได้ลดจำนวนลง ส่วนปัจจัยภายนอก เกิดจากสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ได้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านบวกดังที่พบได้ในความเจริญด้านสาธารณูปโภค ด้านสาธารณสุข การบริหารงานด้านท้องถิ่น ด้านสื่อสารมวลชน และด้านคมนาคม ผลด้านลบที่ครอบงำสังคมไทยในปัจจุบันได้กลืนกลายตามค่านิยมที่ไร้คุณค่าในระบบทุนนิยม และ 3. สภาพวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในปัจจุบันของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในหมู่บ้านญวนอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ได้เปลี่ยนแปลงทุกด้าน ทั้งด้านการศึกษา การสาธารณสุข ที่อยู่อาศัยเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/643 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License