Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6451
Title: | การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการประเมินทักษะชีวิตด้านการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันปัญหาสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 |
Other Titles: | Development of database for assessment of life skills on self-conduct for prevention of social problems for Mathayom Suksa III students in schools under the office of Lampang Primary Education Service Area 2 |
Authors: | สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา สุพักตร์ พิบูลย์, อาจารย์ที่ปรึกษา พีระพัชร์ มหาวรรณ์, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์. ฐานข้อมูล การประเมินพฤติกรรม ทักษะชีวิต -- การประเมิน ทักษะทางสังคม -- การประเมิน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการประเมินทักษะชีวิตด้านการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันปัญหาสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำปาง เขต 2 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของฐานข้อมูลเพื่อการประเมินทักษะชีวิตด้านการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันปัญหาสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำปาง เขต 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 697 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ ฐานข้อมูลเพื่อการประเมินทักษะชีวิตด้านการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันปัญหาสังคม แบบวัดทักษะชีวิตและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ดัชนีความสอดคล้อง ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อำนาจจำแนก ความเที่ยง และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการพัฒนาฐานข้อมูลได้ฐานข้อมูลเพื่อการประเมินทักษะชีวิตด้านการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันปัญหาสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เก็บรายชื่อและผลการประเมินทักษะชีวิต โดยในฐานข้อมูลจะมีแบบประเมินทักษะชีวิตมีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบสถานการณ์ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ เป็นการประเมินด้านยาเสพติด จำนวน 20 ข้อ ด้านพฤติกรรมทางเพศจำนวน 20 ข้อ และด้านการใช้อินเทอร์เน็ต จำนวน 20 ข้อ ผลการหาคุณภาพพบว่าคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหามีค่าระหว่าง .57-1.00 แบบประเมินทุกข้อมีอำนาจจำแนกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความเที่ยงของแบบประเมิน ด้านยาเสพติด ด้านพฤติกรรมทางเพศ และด้านการใช้อินเทอร์เน็ต มีความเที่ยงเท่ากับ .78, 0.93 และ .98 ตามลำดับ และการหาคะแนนที่ปกติของแบบประเมินทักษะชีวิตด้านยาเสพติด มีช่วงคะแนนที่ปกติ อยู่ระหว่าง 23 – 89 ด้านพฤติกรรมทางเพศ มีช่วงคะแนนที่ปกติ ระหว่าง 19 –89 และด้านการใช้อินเทอร์เน็ต มีช่วงคะแนนที่ปกติ ระหว่าง 24 –89 และ (2) ฐานข้อมูลเพื่อการประเมินทักษะชีวิตด้านการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันปัญหาสังคมสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพด้านการประมวลผล และด้านการใช้งานอยู่ในระดับดี |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6451 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
125634.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License