กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6452
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องปริซึมและการหาปริมาตรปริซึมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of an E-learning package in the mathematics learning area on the topic of prisms and finding prism volumes for Prathom Suksa V Students in Schools under the Education Division of Phrae municipality, Phrae province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์
ประไพวรรณ ละอินทร์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปรีชา เนาว์เย็นผล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา-- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์-- วิทยานิพนธ์
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)-- คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)-- ไทย-- แพร่
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและการหาปริมาตรปริซึม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนจากชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 35 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่อง มือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและการหาปริมาตรปริซึม (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมและการหาปริมาตรปริซึม มีประสิทธิภาพ 81.00/82.00, 81.15/82.31และ 80.96/81.15 ตามลำดับเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนจากชุดการเรียนทาง อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ ในระดับเห็นด้วยมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6452
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125688.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons