กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6455
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการซากขยะอิเล็กทรอนิกส์: ศึกษากรณีกฏหมายเกี่ยวกับโรงงาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal measures concerning management of electronic waste: a case study of the law on factories
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วริทธิ์ สมทรง, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: ขยะอิเล็กทรอนิกส์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายโรงงาน
ขยะอิเล็กทรอนิกส์--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย ลักษณะทั่วไป สถานการณ์และความเป็นมาในการจัดการซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ (4) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดการซากขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจุบันประเทศไทยมีซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปริมาณ 414,600 ตัน คิดเป็นร้อยละ 65 ของเสียอันตรายจากชุมชน และไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการซากขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยตรงจึงเกิดปัญหาการบริหารจัดการซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เป็นระบบ (2) กลุ่มสหภาพยุโรป สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และญี่ปุ่น นำหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย หลักการทำนิติกรรมทางปกครองที่เป็น กฎ และคา สั่งทางปกครอง หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง หลักความได้สัดส่วน หลักความเสมอภาค และค่าเสียหายเชิงลงโทษ มาแก้ไขปัญหา (3) พระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ยังไม่มีมาตรการบังคับทางปกครองในการติดตาม ตรวจสอบซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีกฎหมายห้ามหรือจำกัดการใช้สารอันตราย ไม่มีการกำหนดให้ผู้ผลิตเรียกคืนซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีหน่วยงานกลางรับผิดชอบ ไม่มีกองทุนสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น และไม่มีการเพิ่มเติมโทษ(4) ผู้ศึกษาจึงเสนอให้ออกกฎหมายลา ดับรองในการติดตาม ตรวจสอบซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ และให้มีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งออกกฎห้ามหรือจำกัดการใช้สารอันตราย และนำหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตมากา หนดให้ผู้ผลิตต้องเรียกคืนซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งให้มีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบโดยตรงและตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น และนา ค่าเสียหายเชิงลงโทษมาบังคับใช้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6455
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons