กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6459
ชื่อเรื่อง: | ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวยจังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of using a guidance activities package for development of social life skills of Mathayom Suksa II Students of Suksasongkroh Bang Kruay School in Nonthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วัลภา สบายยิ่ง มิเรียม ซุ้นสุวรรณ์, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เจียรนัย ทรงชัยกุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ทักษะชีวิต การแนะแนว -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะชีวิตด้านสังคมของนักเรียน กลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านสังคม (2) เปรียบเทียบทักษะชีวิตด้านสังคมของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองก่อนและกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง และ (3) เปรียบเทียบทักษะชีวิตด้านสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลอง ที่มีภูมิหลังทางชีวสังคมแตกต่างกัน หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านสังคมกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ปี การศึกษา 2554 ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม 1 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียนหลากหลาย เครื่องมือที่ใช้คือ (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านสังคม (2) กิจกรรมแนะแนวอื่น ๆ และ (3) แบบวัดทักษะชีวิตด้านสังคมซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านสังคม มีทักษะชีวิตด้านสังคมสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) กลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านสังคมมีทักษะชีวิตด้านสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) กลุ่มทดลองที่มีภูมิหลังทางชีวสังคมต่างกัน มีทักษะชีวิตด้านสังคมไม่แตกต่างกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6459 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
127876.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License