กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6462
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพกับการปรับตัวทางอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationships between inter-personal relationship and emotional adjustment of lower secondary students of secondary schools in Buriram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง
วัชรีภรณ์ ดีสวัสดิ์, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เจียรนัย ทรงชัยกุล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การปรับตัว (จิตวิทยา)
การปรับตัวทางสังคม
นักเรียนมัธยมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการปรับตัวทางอารมณ์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ของสัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครูที่มีต่อการปรับตัวทางอารมณ์ของนักเรียมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2551 ชั้น ม.1- ม.3 ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน จาก 4 โรงเรียน โรงเรียนละ 100 คน รวมนักเรียน 400 คน เครื่องมือที่ในการใช้วิจัยได้แก่ (1) แบบวัดระดับการปรับตัวทางอารมณ์ (2) แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว (3) แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน (4) แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครูสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการปรับตัวทางอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.85, S.D. = .477) และ (2) สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครูมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวทางอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีค่าความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับปานกลาง (r = .382,r = .545, และ r = .447 ตามลา ดับ) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6462
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
127948.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons