กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6473
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ทิศและแผนผัง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of an electronic learning package in the mathematics learning area on the topic of directions and diagrams for Prathom Suksa VI students in school under the Office of Nakhon Si Thammarat Educational Service Area 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์ สุมาลี ศรีสุขใส, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วาสนา ทวีกุลทรัพย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ การเรียนการสอนผ่านเว็บ คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--นครศรีธรรมราช คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทิศและแผนผัง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัด เขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทิศและแผนผัง และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทิศและแผนผังกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านบางตะเภา จำนวน 43 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเครื่องมือในการวิจัย คือ (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องทิศและแผนผังจำนวน 3 หน่วยได้แก่ หน่วยที่ 11 ทิศ หน่วยที่ 12 แผนผัง และ หน่วยที่ 13 การเขียนแผนผังโดยสังเขป (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องทิศและแผนผัง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัย พบว่า (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องทิศและแผนผัง ที่พัฒนาขึ้นทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพ 80.80 /80.88 80.88/81.61 และ 80.14/80.58 (2) นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนจากชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ทิศและแผนผัง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ทิศและแผนผัง ในระดับเห็นด้วยมาก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6473 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
128674.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 60.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License