กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6480
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองศูนย์แนะแนวสำหรับผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidance center model for elderly people of Yaha Crown prince Hospital, Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง
ปิยพงศ์ หนูประสงค์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เจียรนัย ทรงชัยกุล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา. ศูนย์แนะแนวสำหรับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองศูนย์แนะแนวที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดตั้งศูนย์แนะแนวสำหรับผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย บุคคล 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานแนะแนว/ผู้สูงอายุ จำนวน 22 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญงานแนะแนว/ผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิทางการแนะแนว /ผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน และ 4) ผู้สูงอายุในเขตอำเภอยะหา จังหวัดยะลา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับกลุ่มผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานแนะแนว/ผู้สูงอายุ (2) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้สูงอายุ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านงานแนะแนว/ผู้สูงอายุ ซึ่งใช้เทคนิคเดลฟาย และ (4) แบบสอบถามเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของแบบจำลองศูนย์แนะแนวสำหรับผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จังหวัดยะลา สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิทางการแนะแนว/ผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอร์ไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองศูนย์แนะแนวสำหรับผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จังหวัดยะลา ประกอบด้วย ปรัชญาปณิธาน เป้าหมาย นโยบาย ภารกิจ การจัดการองค์กร บุคลากร เครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวก โครงสร้างพื้นฐานและงบประมาณ ลักษณะเด่นที่สำคัญ ของแบบจำลองศูนย์แนะแนวสำหรับผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา จังหวัดยะลา ด้านบริการ ผู้ที่ทำหน้าที่ให้การแนะแนวควรเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการแนะแนวหรือการดูแลผู้สูงอายุ ด้านวิชาการ ส่งเสริมให้มีการค้นคว้าหาความรู้และทำการวิจัยทางการแนะแนวอย่างสม่ำเสมอ และด้านบริหารมีการดำเนินงานในลักษณะคณะกรรมการ และดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมระหว่างศูนย์แนะแนวหน่วยงานภายนอก ชุมชน รวมทั้งผู้นำศาสนาหรือผู้นำชุมชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6480
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128742.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons