กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6494
ชื่อเรื่อง: | คุณภาพการบริการของห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ในเขตจังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Service quality of Big C Super Center in Nonthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม ขวัญฤทัย สุริยงค์, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุวีณา ตั๋งโพธิสุวรรณ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ บิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์--บริการลูกค้า บริการลูกค้า--ไทย--นนทบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพการบริการของห้างบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในเขตจังหวัดนนทบุรี (2)เปรียบเทียบคุณภาพการบริการของห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในเขตจังหวัดนนทบุรี สาขารัตนาธิเบศร์ และ สาขาติวานนท์ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับคุณภาพการบริการ (4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในคุณภาพการบริการของห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในเขตจังหวัดนนทบุริการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใชัในการวิจัย คือ ลูกค้าที่ใช้บริการห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในเขตจังหวัดนนทบุริ จำนวน 400 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนี้อหาเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า (I) ระดับคุณภาพการบริการของห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในเขตจังหวัดนนทบุริ ภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (2) เปีรยบเทียบคุณภาพการบริการของห้างบิ้กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในเขตจังหวัดนนทบุรี พบว่า คุณภาพการบริการ สาขารัตนาธิเบศร์ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า สาขาติวานนท์ ทุกด้าน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับคุณภาพการบริการ พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริการทุกด้าน และวันในสัปดาห์ที่ใช้บริการมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริการด้านการติดต่อสื่อสารเพียงด้านเดียว โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะพบว่าด้านความน่าเชื่อถือสินค้ามีไม่พอในช่วงส่งเสริมการขาย จึงควรจัดเตรียมสินค้าให้พอกับความต้องการของลูกค้า และด้านการเข้าใจลูกค้า สินค้ามียี่ห้อมีให้เลือกน้อย และขั้นตอนการแลกของสมนาคุณไม่มีขั้นตอนช้ดเจน ควรเพิ่มสินค้าที่มียี่ห้อให้หลากหลายและมีการจัดระบบขั้นตอนที่ชัดเจนในการแลกของสมนาคุณ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6494 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
118933.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License