Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/652
Title: การนำนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลโดยใช้มาตรการทางภาษีไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีสรรพากรภาค 7
Other Titles: Implementation of the policy of using tax measures to suppress influential people : a case study of the Region 7 Revenue Office
Authors: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธโสธร ตู้ทองคำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัตรา พิสฐศาสน์, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
สำนักงานสรรพากร ภาค 6
ภาษี -- นโยบายของรัฐ
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) วิธีการนำนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลโดยใช้มาตรการทางภาษีไปปฏิบัติ (2) ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลโดยใช้มาตรการทางภาษีไปปฏิบัติ (3) ผลกระทบของนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลโดยใช้มาตรการทางภาร ผลการวิจัยพบว่า (1) วิธีการนำนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลโดยใช้มาตรการทางภาษีไปปฏิบัติ มีกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานหลักในการใช้อำนาจเรียกเก็บภาษีอากรจากผู้มีอิทธิพลตามประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ และมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องส่งข้อมูลผู้มีอิทธิพลให้ (2) ปัญหาและอุปสรรค คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้กรมสรรพากรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีอิทธิพลจากหน่วยงานอื่นลดลง และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ของกรมสรรทากรไม่ได้รับการส่งเสริมด้านขวัญ และกำลังใจมากเท่าที่ควร ทำให้การปฏิบัติงานเป็นการทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก (3) ผลกระทบที่สำคัญ คือ การที่ผู้มีอิทธิพลต้องนำเงินบางส่วนมาชำระภาษี ทำให้พฤติกรรมในการใช้เงินหาเสียงเลือกทั้งของนักการเมืองผู้มีอิทธิพลใน ท้องถิ่นเปลี่ยนไปมีการระมัดระวังในการใช้เงินเพื่อหาเสียงทำให้การเมืองท้องถิ่นโปร่งใสมากขึ้นการลงทุนของธุรกิจเอกชนดีขึ้นเป็นไปตามกลไกของตลาด
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/652
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
114934.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons