กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6536
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องจากการทำงานของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting work related accident rate among staff : a case study of Home Product Center Public Company Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เชาว์ โรจน์แสง ชญานันทน์ บัญญัติ, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์--พนักงาน--อุบัติเหตุ อุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม--ไทย การทำงาน--อุบัติเหตุ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลกับอัตราการเกิดอุบัติเหตุ (2) ปัจจัยด้านการกระทำที่ไม่ปลอดภัยที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุ (3) ปัจจัยด้านสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุ (4) ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยขององค์กร (5) ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องจากการทำงานของพนักงาน การคำนวนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยศึกษาการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ที่เกิดจากการกระทำต่าง ๆ หรือการปฎิบัติงานของคนที่มีผลทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย และสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ที่เกิดจาก สภาพของโรงงาน เครื่องจักร กระบวนการผถิต อุปกรณ์ในการผลิต ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ ใช้ประชากรที่ศึกษาเป็นพนักงานบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ที่เคยเกิดอุบัติเหตุในขณะที่ปฏิบัติงานอยู่ภายในบริษัท จำนวน 1,069 คน จำนวน 34 สาขาทำการเลือกตัวอย่างแบบโควต้า และกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ใช้ตัวอย่าง 300 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแคว์และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น จากผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยด้านบุคคล เช่น เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษาตำแหน่งงาน ลักษณะงานที่ทำ และการฝึกอบรม ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดอุบัติเหตุ (2) ปัจจัยด้านการกระทำที่ไม่ปลอดภัยที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในการทำงาน และปัจจัยด้านการกระทำที่ไม่ปลอดภัยส่งผลต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยปัจจัยหลัก ได้แก่ การหยอกล้อเล่นกันระหว่างทำงาน (3) ปัจจัยด้านสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ไม่ส่งผลต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำกัญทางสถิติ แต่ส่งผลต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยหลักได้แก่ พื้นที่ทำงานแคบทำให้ขับรถยกไฟฟ้าเข้าไปจัดเรียงสินค้าไม่สะดวก (4) ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของบริษัทมีการจัดการในระดับปานกลาง โดยผู้บังคับบัญชาให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยในการทำงานในระดับมาก และ (5) ปัญหาที่พบจากการวิจัยพบว่าพนักงานไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัย ไม่มีผู้สอนวิธีการทำงานที่ปลอดภัย และเครี่องมือที่ใช้ไนการปฏิบัติงานไม่เพียงพอต่อการใช้งานแนวทางแก้ไข คือ ฝ่ายบริหารต้องทบทวนระบบการบริหารความปลอดภัย ทำการจัดอบรมด้านความปลอดภัยและจัดหาอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการใช้งาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6536 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
119071.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License