กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6537
ชื่อเรื่อง: ภาวะผู้นำภาครัฐตามหลักพระพุทธศาสนา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Leadership in public sector according to Buddhist doctrine
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุจิตรา อ่อนค้อม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยวัฒน์ แพทยวิโรน์กุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำ--แง่ศาสนา
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับภาวะ ผู้นำภาครัฐ (2) เสนอแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำภาครัฐตามหลักของพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ในเรื่องเกี่ยวกับ ภาวะผู้นำโดยเน้นภาวะผู้นำภาครัฐ ที่ปรากฎในคัมภีร์ทั้งพระไตรปิฎก คัมภีร์ชั้นรอง ตำราและหนังสือของ ปราชญ์และผู้รู้ทางพระพุทธศาสนาตลอดจนตามทัศนะของนักวิชาการทางด้านการบริหารสมัยใหม่และ งานศึกษาวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งพระและฆราวาสรวมจำนวน 12 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า (1) มีหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับผู้นำและภาวะผู้นำ ภาครัฐเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลักธรรมเหล่านี้จะประกอบกันเป็นหมวดหมู่ บางหมวดหมู่ก็มีองค์ธรรมเพียง ข้อเดียวไปจนถึงหมวดธรรมที่มีองค์ธรรมนับสิบข้อ เพราะองค์ธรรมต่างๆ ย่อมหนุนช่วยแต่ละต้านเพื่อ ส่งผลให้เกิดการบูรณาการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักธรรมหมวดนั้น หลักธรรมที่วิจัยพบสามารถ จัดกลุ่มได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่หนึ่ง หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการมีความเห็นที่ ถูกต้อง การเข้าใจและรู้เท่าทันความเป็นจริงและธรรมดาของโลกและชีวิต กลุ่มนี้แบ่งย่อยได้เป็น 5 ประเด็น รวมหมวดธรรมได้ 17 หมวด กลุ่มที่สอง หลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตำเนินชีวิตและการทำงานอย่างถูกต้องชอบธรรม กลุ่มนี้แบ่งย่อยได้ เป็น 10 ประเด็น รวมหมวดธรรมได้ 64 หมวด ผลการวิจัยบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าผู้นำภาครัฐตามหลัก พระพุทธศาสนาต้องเป็นผู้มีศิลธรรมอย่างสูงคู่กันไปกับการมีความรู้ความสามารถ โดยผู้นำต้องมีทัศนคติ ที่ถูกต้อง และมีการพูดการกระทำที่ถูกต้องด้วย เพื่อนำสมาชิกขององค์การภาครัฐหรือประชาชนโดยรวม ให้ไปสู่จุดหมายที่ดีงามสูงขึ้นไปตามลำดับชั้นจากประโยชน์และความสุขปัจจุบัน เบื้องหน้า และอย่างยิ่ง (2) แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำภาครัฐตามหลักพระพุทธศาสนา มีดังนี้ 1) ในด้านหลักการ คือ หน่วยงานของภาครัฐทุกแห่งและทุกระดับต้องให้ความสำคัญกับการอบรมบ่มเพาะหลักธรรมของ พระพุทธศาสนา มีดังนี้ในการอบรมทุกประเภทและรูปแบบ และสร้างสรรค์ให้ธรรมะเป็นวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมขององค์การ 2) ในด้านวิธีการ คือ อบรมโดยมีเวลานานพอควร ประเมินผลอย่างรอบด้านและ ต่อเนื่อง ใช้สื่อทุกชนิดเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ทุกเวลาและสถานที่ และใช้การนำเสนอที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย และปฏิบัติตามได้อย่างเป็นรูปธรรม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6537
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112129.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons