Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6542
Title: การมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน : กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร จังหวัดสิงห์บุรี
Other Titles: Water users' participation in irrigation water management : a case study of the Channasute Operation and Maintenance Project in Sing Buri Province
Authors: รังสรรค์ ประเสริฐศรี
รมย์รวินท์ กลิ่นศรีสุข, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
ชลประทาน--การมีส่วนร่วมของประชาชน
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในบริหารการจัดการนํ้าชลประทานของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้นํ้าในบริหารการจัดการน้ำชลประทานของโครงการส่งนํ้าและบำรุงรักษาชัณสูตร (3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในบริหารการจัดการน้ำชลประทานของโครงการส่งนํ้าและบำรุงรักษาชัณสูตรและ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการนํ้าชลประทานประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน จำนวน 17,353 รายโดยสุ่มแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง 390 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ (1) ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด (2)วิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำใช้การทดสอบค่าที (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน และ (4) วิเคราะห์ความแตกต่างใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และหาความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ ผลการวิจัย พบว่า (1) การมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำทุกขั้นตอน พบว่า ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์ 5 ตัวแปร และ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) การเปรียบเทียบความแตกต่างการมีส่วนร่วมในด้านการบริหารจัดการน้ำในภาพรวม พบว่าการมีส่วนร่วมระหว่างฝายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1-7 แตกต่างกัน โดยผู้ใช้น้ำฝายส่งน้ำที่ 3 มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการนํ้าชลประทานมากที่สุด (4) ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ พบว่า ผู้ใช้น้ำขาดการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาการกำหนดระเบียบ กระบวนการ และวิธีดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา และมีปัญหาด้านการเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำและการบำรุงรักษา ทั้งนี้ผู้ใช้น้ำได้เสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ชลประทานต้องสอบถามเกษตรกรว่าพื้นที่ต้องการน้ำช่วงเดือนใด และควรมาดูแลควบคุมการจัดรอบเวร โดยแบ่งปันให้คนท้ายน้ำบ้าง ตลอดจนควรซ่อมถนนชลประทานให้อยู่ในสภาพที่ดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6542
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
120942.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons