กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6551
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกลงทุนในเงินฝากสงเคราะห์ชีวิต "ธกส ทวีรัก99" ของลูกค้าเกษตรกรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix factors affecting investment selection in "BAAC Tawerak 99" of Farmers of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, Phusing Branch, Sisaket Provicne
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีระศักดิ์ ดวนใหญ่, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เงินฝากธนาคาร
การลงทุน--การเงิน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการเลือกลงทุนในเงินฝากสงเคราะห์ชีวิต “ธกส ทวีรัก 99” ของลูกค้าเกษตรกรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ (2) ศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกลงทุนในเงินฝากสงเคราะห์ชีวิต “ธกส ทวีรัก 99” ของลูกค้าเกษตรกรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลือกลงทุนในเงินฝากสงเคราะห์ชีวิต “ธกส ทวีรัก 99” กับปัจจัยส่วนบุคคล ของลูกค้าเกษตรกรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ และ (4) เปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกลงทุนในฝากสงเคราะห์ชีวิต “ธกส ทวีรัก 99” ของลูกค้าเกษตรกรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการเลือกลงทุนมีวัตถุประสงค์มาจากการชักชวนมากที่สุด โดยมีอัตราเงินฝากอยู่ที่ 1,501-2,000 บาทต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี และลงทุนเพียง 1 กรรมธรรม์ (2) ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการเลือกลงทุนอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน ตามลำดับดังนี้ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคลากร และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกลงทุน โดยมีระดับความเชื่อมั่น อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกัน โดยมีระดับความเชื่อมั่น อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6551
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons