กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6558
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องที่ระดับหมู่บ้าน : กรณีศึกษาอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ชื่อเรื่องอื่นๆ: People's participation in the local-village level administration : a case study of Takbai District, Narathiwat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนาศิลป์ เสี้ยวทอง, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
การปกครองท้องถิ่น -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน (3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชน และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องที่ระดับหมู่บ้าน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในเขตอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 32,839 คน โดยสุ่มแบบบังเอิญ ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด (2) วิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใช้ t – test (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน และ (4) วิเคราะห์ความแตกต่างใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และหาความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ ผลการวิจัย พบว่า (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกขั้นตอน พบว่า ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์ 5 ตัวแปร มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ความพึงพอใจของประชาชน การส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ความรู้ความเข้าใจของประชาชน การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการปกครองท้องที่ (3) การเปรียบเทียบความแตกต่างของการมีส่วนร่วมของประชาชนตามตำบลต่างๆ ในภาพรวม พบว่า ประชาชนในตำบลเจ๊ะเห ตำบลพร่อน ตำบลไพรวัน ตำบลเกาะสะท้อน และตำบลโฆษิต มีส่วนร่วมในการปกครองท้องที่ระดับหมู่บ้านแตกต่างจากประชาชนในตำบลศาลาใหม่ โดยประชาชนในตำบลเจ๊ะเห มีส่วนร่วมมากที่สุด (4) ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องที่ระดับหมู่บ้าน พบว่า ประชาชนไม่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ผู้นำหมู่บ้านไม่เปิดโอกาศให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐไม่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการอย่างจริงจัง ประชาชนไม่มีความรู้และขาดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และหมู่บ้านขาดความเข้มแข็ง ทั้งนี้ประชาชนได้เสนอแนะให้หน่วยงานราชการและผู้เกี่ยวข้องควรกระตุ้นให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมมากขึ้น ผู้นำหมู่บ้านควรเปิดโอกาศให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง และประชาชนควรมีส่วนร่วมในการประชุมประชาคม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6558
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122006.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons