Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6576
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในกับคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียน ประถมศึกษาในอำเภอห้วยเม็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 |
Other Titles: | Relationship between internal quality assurance and ordinary National education test scores of students in Primary Schools in Huay Mek District under the Office of Kalasin Primary Education Service Area 2 |
Authors: | ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ จุมพล สิงห์จรรยา, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี ประกันคุณภาพการศึกษา--ไทย--กาฬสินธุ์. |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอห้วยเม็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 (2) ศึกษาคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียนดังกล่าว และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนกับคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียนดังกล่าว ประชากร ได้แก่โรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอห้วยเม็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 31 โรงเรียน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 31 คน และหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการโรงเรียน 31 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในแบบมาตรประมาณค่าที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .77 และแบบบันทึกคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอห้วยเม็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจัดระบบบริหารและสารสนเทศ และด้านจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน อยู่ในระดับมากที่สุด (2) คะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียนดังกล่าว โดยภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 40.46 (3) โดยภาพรวมการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนดังกล่าวกับคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียนไม่มีความความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญ .05 แต่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในรายด้านกับคะแนนเฉลี่ยรายกลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว พบว่า ด้านจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์กับคะแนนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีในระดับปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญ .01 และกับคะแนนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ด้านกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับคะแนนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีในระดับตํ่า ที่ระดับนัยสำคัญ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6576 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_151529.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License