กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6589
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารมาใช้ในการผ่านพิธีการนำเข้า ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the success of implementing e-customs system in customs procedures at Bangkok Port Customs Bureau
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์
สุนีย์รัตน์ กิตติกาญจนรักษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ
อิเล็กทรอนิกส์
การสื่อสารข้อมูล
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารมาใช้ ในการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ (2) ระดับความสำเร็จของการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารมาใช้ ในการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ (3) สภาพปัญหาและเสนอแนะแนวทางต่าง ๆ ในการที่จะปรับปรุงให้การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ด้านพิธีการศุลกากรนำเข้า ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ เกิดผลสำเร็จ ประชากร คือ เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติงานที่สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ จำนวน 438 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการนาระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารมาใช้ในการผ่านพิธีการนาเข้า ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ คือ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ นโยบายและกลยุทธ์ระบบภายในองค์การ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ งบประมาณ ประชาสัมพันธ์ การติดตามประเมินผล และภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านบุคลากร ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ บทบาทเจ้าหน้าที่ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ การมีส่วนร่วมของประชาชน วัฒนธรรมองค์กร/ค่านิยมร่วม และการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น (2) ระดับความสำเร็จของการนาระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารมาใช้ในการผ่านพิธีการนำเข้า ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยประเด็นเกี่ยวกับสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพสามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการโดยทั่วถึงเท่าเทียมกันและยุติธรรม กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่ามีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับ 3.41 (3) สภาพปัญหาและเสนอแนะแนวทางต่าง ๆ ในการที่จะปรับปรุงให้การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารเกิดผลสำเร็จ ปัญหาด้านบริหารจัดการ ได้แก่ กฎระเบียบ และระบบงาน ควรกำหนดกฎระเบียบโดยจัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน จัดหาเทคโน โลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ผลักดันพิธีการนำเข้า-ส่งออกให้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารอย่างเต็มรูปแบบ ปัญหาด้านบุคลากร ได้แก่ ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ควรให้ข้าราชการที่ปฏิบัติงานผ่านพิธีการนำเข้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และวิธีการทำงานเป็นทีม สร้างจิตสำนึกที่ดีต่อผู้ประกอบการ มีความสุจริต และปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ การร่วมงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและดำเนินการไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดทั้งมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6589
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122099.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons