Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/659
Title: | ความหมายของเครื่องสังเวยบูชากระยาบวชในพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ไทย : กรณีศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี |
Other Titles: | Meaning of sacrificial offerings "Kra Ya Buad" in a ceremony to pay tributes to Thai tradifional Music and Dance Teachers : a case study in the college of Dramatic Arts Lopburi |
Authors: | ปรียา หิรัญประดิษฐ์ ฉัตราพร ดวงสร้อย, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ พิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ไทย การไหว้ครู ดนตรีไทย นาฏศิลป์ไทย เครื่องใช้ในพิธีกรรม |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาส่วนประกอบและความหมายของเครื่อง สังเวย เครื่องกระยาบวช บายครีปากชาม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีไหว้ครูและศึกษาความเชื่อของกลุ่มคนในวงการดนตรีและนาฏศิลป์ไทย โดยวิธีการศึกษาจากเอกสาร การสังเกตและการสัมภาษณ์ ผู้รู้ รวมทั้งกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องในพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ผลการศึกษาพบว่าการไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ไทย เป็นพิธีกรรมตามความเชื่อเพื่อแสดงความเคารพบูชา ครู อาจารย์ ผู้มีพระคุณ และบวงสรวงสังเวยเทพเจ้าแห่งดุริยศาสตร์และนาฏยศาสตร์เนื่องจากเป็นครูผู้สร้างสรรค์และประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ ความเชื่อนี้มีความสัมพันธ์ต่อการศึกษา และการดำเนินชีวิตของคนในวงการดนตรีนาฏศิลป์เป็นอย่างมาก เครื่องสังเวย คืออาหารสุกและอาหารดิบ เครื่องกระยาบวช คือ อาหารที่ไม่ปรุงเจือด้วยของคาวและบายศรีปากชาม คือ เครื่องเชิญขวัญที่ประดิษฐ์จากใบตองใช้สักการะเทพเจ้าสิ่งศักดิสิทธิ์ชั้นสูง วัตถุสิ่งของที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ได้แก่ ศีรษะเทพเจ้าชั้นสูง ภาพถ่ายครูที่ถึงแก่กรรมรวมถึงของใช้ในการทำพิธีไหว้ครู ล้วนสื่อความหมายให้มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมพิธี แสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก ที่ได้รับจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ฮินดูและความเชื่อดั้งเดิม ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมกำลังใจให้ประสบผลสำเร็จในการศึกษาและในอาชีพ การจัดพิธีไหว้ครูช่วยให้เข้าใจพี้นฐานทางความคิด ความเชื่อของผู้ศึกษาวิชาการทางดนตรีนาฏศิลป์และผู้เข้าร่วมพิธี อีกทั้ง เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาและเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้ เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมของชาติสืบต่อไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/659 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext (3).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License