กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6613
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Citizen participation in behavioral habit development of Prisons and Correction Institutes in Area 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชระ จิตรขาว, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
ทัณฑสถาน เขต 3
การมีส่วนร่วมของประชาชน
นักโทษ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพฤติ นิสัยผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 3 (2) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทเรือนจำกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง (5) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังโดยจำแนกตามประเภทเรือนจำ (6) เปรียบเทียบระดับการมีส่วน ร่วมของประชาชนในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังโดยจำแนกประเภทเรือนจำ (7) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้าง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังภายในเรือนจำ และทัณฑสถาน เขต 3 จำนวน 229 คน ประกอบด้วยประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมใน เรือนจำกลาง 43 คน เรือนจำส่วนภูมิภาค 157 คน และทัณฑสถาน 29 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามโดยมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังอยู่ในระดับน้อย (2) ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการพัฒนาพฤติ นิสัยส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนสูงที่สุด (4) ประเภทของเรือนจำไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง (5) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนร่วมในประเภทเรือนจำ ต่างกัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (6) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน ประเภทเรือนจำต่างกัน ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังไม่มีความแตกต่างกัน (7) การเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ของประชาชนสามารถทำได้โดยการประชาสัมพันธ์ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤตินิสัย ผู้ต้องขังให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยเน้นการมี ส่วนร่วมของประชาชน เช่น ชุมชนบำบัด การกีฬา ดนตรี ฝึกจิตภาวนา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6613
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124751.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons