กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/662
ชื่อเรื่อง: การเมืองภาคประชาชน : กรณีศึกษาชุมชนคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Citizen politics : a case study of Khlong Dan Community , Bang Bo District Samut Prakan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐปนรรต พรหมอินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกัญญาภัคภ์ ขูขุนทด, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การมีส่วนร่วมทางการเมือง -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถประสงค์ศึกษา (1) พัฒนาการทางการเมืองภาคประชาชนของชุมชน คลองด่าน อำเภอบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ (2) รูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนของชุมชนคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ (3) ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนของชุมชนคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัย พบว่า (1) พัฒนาการทางการเมืองภาคประชาชนของชุมชนคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มาจากการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการก่อสร้างโครงการบ่อนำบัดน้ำเสียโดยเกิดจากจิตสำนึกรักชุมชน รองลงมา ได้แก่ ความไม่โปร่งใสของโครงการ การปกปิดข้อมูล/ บิดเบือนข้อมูลและการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จกับประชาชน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหว ได้แก่ ปัจจัยภายในประกอบด้วย ความเป็นชุมชนเก่าแก่ วิถีชีวิตของชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมของชุมชน ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การร่วมมือกันทุจริตของนักการเมืองระดับประเทศ การหวังผลประโยชน์ของกลุ่มเอกชน และการนำงบประมาณแผ่นดินไปใช้อย่างมีเงื่อนงำ (2) รูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนของ ชุมชนคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ การร้องทุกข์ (3) ปัญหา อุปสรรคในการ ดำเนินรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนของชุมชนคลองด่าน ได้แก่ 1) การที่รัฐบาลไม่มี ความตั้งใจดีจะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง 2) ฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายนายทุนมุ่งใช้ความรูนแรงกับ ประชาชนที่เคลื่อนไหวต่อต้านการก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย 3) ความไม่เข้าใจและการวางเฉยของ กลุ่มคนในสังคมที่ไม่เดือดร้อน 4) ประชาชนขาดจิตสำนึกทางการเมือง และขาดแคลนทุนสนับสนุนใน การเคลื่อนไหวต่อด้านการก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดนำเสีย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/662
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124344.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons