กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6649
ชื่อเรื่อง: | การบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Strategic Administration of Sub-district Administrative Organizations Nakhon Ratchasima Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชินรัตน์ สมสืบ นงค์นุช เพียรขุนทด, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เสน่ห์ จุ้ยโต |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินงานการบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา (2) เปรียบเทียบการดำเนินงานการบริหารเชิงกล ยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานการบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน5,970 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า(1) องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา มีการดำเนินงานการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยรายด้าน ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ การกำหนดกลยุทธ์ การดำเนินกลยุทธ์ และการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ เงินเดือน ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และประเภทบุคลากรไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา และ (3) แนวทางในการปรับปรุงการดำเนินการบริหารเชิงกลยุทธ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา มี 3 ประการได้แก่ ควรจัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจให้กับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกี่ยวกับเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาตำบลควรจัดกิจกรรมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานส่วนท้องถิ่นควรมีการศึกษาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานด้านต่างๆขององค์การบริหารส่วนตำบลและส่งเสริมความร่วมมือกันเพื่อสร้างความสามัคคีภายในชุมชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6649 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
125050.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License