กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6656
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการจัดการความรู้ของเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of knowledge management of Nakhon Si Thammarat Central Prison
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลศักดิ์ บุญเกิด, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช
การบริหารองค์ความรู้
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์การจัดการความรู้ของเรือนจำกลาง นครศรีธรรมราช ในด้านความเข้าใจในการจัดการความรู้ การกำเนิดความรู้ การจัดเก็บความรู้ การแบ่งปัน ความรู้ การนำความรู้ไปใช้ การสนับสนุนของผู้บริหาร เทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร และด้านการ ประเมินผล (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช (3) ศึกษาปัญหา การจัดการความรู้ของเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช (4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของ เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรของเรือนจำ กลางนครศรีธรรมราชทุกคน ประกอบด้วยข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้าง รวมทั้งหมดจำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าถดถอยเชิงพหุ และการทดสอบค่าที ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การ วิเคราะห์เนื้อหาโดยการวิเคราะห์สรุปข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการความรู้ภายในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง มีการดำเนินการด้านความเข้าใจในการจัดการความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด และ ดำเนินการในด้านการแบ่งปันความรู้อยู่ในระดับน้อยที่สุด (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของ เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช โดยมีผลทำให้การจัดการความรู้ของเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช มีมากขึ้น คือปัจจัยด้านการกำเนิดความรู้ การสนับสนุนของผู้บริหาร วัฒนธรรมองค์กร ความเข้าใจในการจัดการ ความรู้ และด้านการแบ่งปันความรู้ ตามลำดับ (3) ปัญหาในการจัดการความรู้ของเรือนจำกลาง นครศรีธรรมราช ที่สำคัญคือ การขาดการสนับสนุนจากผู้บริหาร บุคลากรขาดความสนใจใฝ่รู้ และ วัฒนธรรมขององค์กรยังไม่เอื้อต่อการจัดการความรู้ (4) แนวทางในการพัฒนาการจัดการความรู้ของ เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช คือ ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงโดยสนับสนุนในทุกขั้นตอน ของกระบวนการจัดการความรู้ ควรดำเนินการให้บุคลากรทุกคนเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมใน การจัดการความรู้ และควรเร่งสร้างวัฒนธรรมในการสนใจใฝ่รู้และนำความรู้มาพัฒนาการทำงานร่วมกัน จึงจะทำให้การจัดการความรู้ของเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ประสบความสำเร็จ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6656
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125482.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons