กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6657
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการแก้ไขข้อพิพาทแรงงานจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting success in the labor dispute Rayong
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธรรมนูญ ยิ้มละมัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
แรงงาน--ไทย--ระยอง
ข้อพิพาทแรงงาน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านแรงงานสัมพันธ์ ปัจจัยด้าน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์และปัจจัยด้านบุคคล (2) ศึกษาระดับความสำเร็จในการแก้ไขข้อพิพาทแรง งาน (3) เปรียบเทียบความสำเร็จในการแก้ไขข้อพิพาทแรงงานจำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่งงานและ รายได้ (4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการแก้ไขข้อพิพาทแรงงาน (5) เสนอแนะแนวทางการ พัฒนาในการแก้ไขข้อพิพาทแรงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่แรงงานของส่วนราชการจังหวัดระยองจำนวน 10 คน และผู้บริหาร / พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง 387 คน รวม 397 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีของยามาเน่ และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบ สัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางด้านแรงงานสัมพันธ์,ปัจจัยทางด้านกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ,ปัจจัยทางด้านบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง (2) ระดับความสำเร็จในการแก้ไขข้อพิพาทแรงงานอยู่ในระดับ ปานกลาง (3) ความสำเร็จในการแก้ไขข้อพิพาทแรงงานตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเมื่อจำแนกตาม เพศ การศึกษา ตำแหน่งงาน และรายได้ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 (4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการแก้ไขข้อพิพาทแรงงานในภาพรวม ปัจจัยด้านแรงงานสัมพันธ์สามารถ พยากรณ์ ความสำเร็จในการแก้ไขข้อพิพาทแรงงานได้ร้อยละ 32.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และเมื่อพิจารณารายได้พบว่าปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสามารถพยากรณ์ ความสำเร็จในการแก้ไขข้อพิพาทแรงงานได้ร้อยละ 35.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 (5) แนวทางในการพัฒนาในการแก้ไขข้อพิพาทแรงงานคือ ด้านรัฐบาล ควรเสริมสร้างความรู้เข้าใจด้านแรงงานสัมพันธ์แก่ นายจ้างและลูกจ้างในการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ปรับปรุงวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพเสริมสร้าง ด้านนายจ้างจะต้องดำเนินการจัดค่าจ้าง /สวัสดิการให้เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการแรงงานสัมพันธ์ ด้านลูกจ้างต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานโดยเคร่งครัด ลูกจ้างจะต้องให้ ความร่วมมือในการเจรจาเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6657
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112135.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons