กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6679
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Integrated marketing communications influencing decision making to visit Ubon Ratchathani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เชาว์ โรจน์แสง สาโรช สมชอบ, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ราณี อิสิชัยกุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ การท่องเที่ยว--การตลาด--ไทย--อุบลราชธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยว จังหวัดอุบลราชธานี (2) การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว จังหวัดอุบลราชธานี และ (3) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการใช้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ การวิจัยพบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างส่วนมาก เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.75) อายุ ต่ำกว่า 25 ปี (ร้อยละ 41.50) สถานภาพโสด (ร้อยละ 65.75) การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 51.00) อาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 35.00) รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท (ร้อยละ 51.00) วัตถุประสงค์ของการเดินทางมาท่องเที่ยว เพื่อท่องเที่ยว/พักผ่อน (ร้อยละ 69.00)การเดินทางพร้อมครอบครัว (ร้อยละ 53.50) ผู้ร่วมเดินทางท่องเที่ยวมากกว่า 5 คน (ร้อยละ 31.00) และ ระยะเวลาพักค้างคืนพัก 1-2 วัน (ร้อยละ 35.75) (2) การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี อันดับแรก คือ การโฆษณาทางรถไฟ รถประจำทาง อันดับสอง คือ การประชาสัมพันธ์ทางสื่อสารธารณะ (วิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์) อันดับสาม คือ การขายโดยพนักงานขายจากบุคลากรทางภาครัฐบาลและจากพนักงานภาคเอกชน อันดับสี่ คือ การส่งเสริมการขายจากการลดแลก แจก แถม กับธุรกิจ และอันดับสุดท้าย คือ การตลาดทางตรงผ่านทางอินเตอร์เน็ต ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (3) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการใช้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี อันดับแรก คือ มีป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ก่อนเข้าเมืองจำนวนจำกัด อันดับสอง คือ ควรเพิ่มป้ายบอกทิศทางสถานที่ท่องเที่ยวในเมือง และควรเพิ่มป้ายตามถนนรอบเมืองไม่เพียงพอ และอันดับสุดท้าย คือ ควรเพิ่มป้ายภาษาต่างประเทศและขาดการประชาสัมพันธ์ในจังหวัดต่าง ๆ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6679 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
128219.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License