Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6698
Title: | การมีส่วนร่วมของพนักงานในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
Other Titles: | Participation of employees towards corporateb social responsibility of electronics and equipments industry in Ayutthaya province |
Authors: | กิ่งพร ทองใบ ณัชชา วรรณวรางค์, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ราณี อิสิชัยกุล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ อุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วัดระดับการมีส่วนร่วมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ (3) ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ แยกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านกระบวนการมีส่วนร่วม และ (4) เสนอแนะแนวทางในการมีส่วนร่วมของพนักงานในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าความแปรปรวนทางเดียว ซึ่งใช้การทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลางส่วนด้านการตัดสินใจ ด้านการดำเนินกิจกรรม และด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล อยู่ในระดับน้อย (2) ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงาน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ตำแหน่งงาน การเข้าฝึกอบรม การได้รับข่าวสาร การเข้าร่วม กิจกรรม การเป็นสมาชิกกลุ่ม และประโยชน์ที่ได้รับ (3) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้าน กระบวนการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน ยกเว้น เพศ สถานภาพสมรส และแผนกที่สังกัด และ (4) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้บริหารควรวางแผนและกำหนดแนวทางใน การส่งเสริมสนับสนุน ให้พนักงานมีความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อ สังคม โดยเฉพาะการฝึกอบรม และควรให้ความสำคัญกับพนักงานทุกๆ ระดับได้เข้ามามีส่วนร่วมใน การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6698 |
Other Identifiers: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
128397.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License