กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6725
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Human resources development for being the high performance organization of Regional Education Office Region 10
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเนียร ราชแพทยาคม
นิจจารีย์ วงษ์กาฬสินธุ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานการศึกษาธิการภาค 10--การบริหารงานบุคคล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 (2) ระดับความคิดเห็นของการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงาน ศึกษาธิการภาค 10 (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 และ (4) ปัญหา ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากร คือ ข้าราชการสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 และ หน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบ 5 แห่ง ได้แก่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดเลย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองคาย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองบัวลำภู และ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 197 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงาน ศึกษาธิการภาค 10 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระระดับความคิดเห็นต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสำนักงานศึกษาธิการภาค 10 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์กบการเป็นองค์การสมรรถนะสูง พบว่า มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับสูงโดยมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01และ (4) ปัญหาที่พบคือ บุคลากรในหน่วยงานมีน้อยแต่ภารกิจงานมีมาก จึงส่งผลให้ มีข้อจำกัดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านเวลา งบประมาณสนับสนุนมีอยู่จำกัด โอกาสในการเข้าร่วม พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายค่อนข้างน้อย ส่วนข้อเสนอแนะที่ได้คือ ควรมีการสำรวจความ ต้องการของบุคลากร จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการระบบสารสนเทศบุคลากร ควรพัฒนาสมรรถนะด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญ สร้างเสริมทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 เข้า มาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์การ ส่งเสริมบรรยากาศของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6725
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_164025.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons