กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6737
ชื่อเรื่อง: ความพร้อมในการบริหารตามเกณฑ์คุณภาพภาครัฐ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Readiness to manage in accordance with Public Sector Management Quality Criteria : a case study of Valaya Alongkorn Rajabhat university, Pathum Thani province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นราธิป ศรีราม
กนกพร กาลจักร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปภาวดี มนตรีวัต
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์--การบริหาร
การบริหารคุณภาพโดยรวมในภาครัฐ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความพร้อมในการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพภาครัฐ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความพร้อมในการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพภาครัฐ ของกลุ่มตัวอย่าง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพภาครัฐของมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ (4) ศึกษาข้อเสนอแนะการสร้างความพร้อมในการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพภาครัฐ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอถงกรณ์กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการและพนักงาน ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์จำนวน 219 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยถะ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ มีความพร้อมในการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพภาครัฐ ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยหมวดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ หมวด การนำองค์กร หมวดที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด คือ หมวด 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความพร้อมในการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพภาครัฐ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคคลที่มีเพศ สถานภาพและระยะเวลาการทำงาน สายงาน แตกต่างกัน มีความ คิดเห็นต่อความพร้อมในการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพภาครัฐของมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ไม่แตกต่างกัน บุคลากรที่มีตำแหน่งและคุณวุฒิแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความพร้อมในการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพภาครัฐของมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพภาครัฐ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนผู้บริหารบ่อยครั้งมีผลกระทบต่อการบริหารงานตามเกณฑ์คุณภาพ (4) ข้อเสนอแนะการสร้างความพร้อม ได้แก่ องค์กรควรเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรมากยิ่งขึ้น สร้างความรู้ความเข้าใจในเกณฑ์คุณภาพภาครัฐให้กับบุคลากรทุกคนมีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกด้าน ปรับปรุงโครงสร้างในการบริหาร สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมมีการนำเทคโนโลยีและสื่ออุปกรณ์ทันสมัยมาใช้โดยเฉพาะในกระบวนการจัดการเรียนการสอน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6737
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112148.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons