Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6755
Title: การมีส่วนร่วมสาธารณะของประชาชนในการดำเนินโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
Other Titles: Public Participation in implementing Thai Niyom Yangyen Project of Nang Kaeo Subdistrict, Potharam Distict, Ratchaburi Province
Authors: จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
หทัยรัตน์ เสมประวัติ, 2529- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการไทยนิยมยั่งยืน--ไทย--ราชบุรี
การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการดำเนินโครงการไทยนิยมยั่งยืนในพื้นที่ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (2 ) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการไทยนิยมยั่งยืน ในพื้นที่ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัด ราชบุรี (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants)ออกเป็นสองกลุ่ม คือ (1) ทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนระดับตำบล จำนวน 2 คน ได้แก่ ปลัดอำเภอ และพัฒนากร ประจำตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (2) ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 12 คน ในส่วนของประชาชนตำบล นางแก้ว ผู้ศึกษาได้กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการกำหนดหมู่บ้าน เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยทำการกำหนดประเภทหมู่บ้าน ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หมู่บ้านขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และใช้วิธีการคัดเลือก แบบเจาะจง (criterion based selection) ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า (1) การดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ตำบลนางแก้ว เป็นไปกรอบการดำเนินงานและห้วงเวลาที่ส่วนกลางกำหนด (2) ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการผ่านกลไกการประชุมประชาคมที่จัดขึ้นทั้ง 4 เวที ในแต่ละเวทีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนมีความแตกต่างกัน โดยประชาชนจะให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมครั้งแรกมากที่สุด และลดลงตามลำดับ (3) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ คือ ความแตกแยก ความร่วมมือจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ความรู้ความเข้าใจที่มีติอโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของผู้ปฏิบัติงาน และแนวทาง การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างยั่งยืนควรสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในเรื่องจิตสาธารณะ ปลูกฝังค่านิยมวิถีชีวิตแบบประชาธิป ไตยตามหลักการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของ กระทรวงมหาดไทย และการวางกลไกการทำงานเพื่อพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนด้วยการสร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างประชาชน ส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6755
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT _164441.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons