กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/675
ชื่อเรื่อง: | การใช้ของเสียจากอุตสาหกรรมซิงค์ออกไซด์เป็นวัตถุดิบในการผลิตคอนกรีตบล๊อค |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Utilization of waste from zinc oxide industry as raw material for block concrete production |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ จิตวิกา สมใจ, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปีติ พูนไชยศรี |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์ ของเสียจากโรงงาน--การใช้ประโยชน์ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปริมาณและลักษณะของของเสียชนิดขี้เถ้าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตซิงค์ออกไซด์ (2) สัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้ของเสียชนิดขี้เถ้าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตซิงค์ออกไซด์แทนที่ปูนซีเมนต์ เป็นสัดส่วนผสมในการผลิตคอนกรีตบล๊อค และ (3) ค่าใช้จ่ายในการใช้ของเสียชนิดขี้เถ้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตซิงค์ออกไซต์เป็นสัดส่วนผสมในการผลิดคอนกรีตบล็อค การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยการใช้ขี้เถ้าแทนที่ปูนซีเมนต์ในการผลิตคอนกรีตบล็อคขี้เถ้าที่ใช้ในการทดลองได้มาจากโรงงานเมทอ๊อกไซด์ ประเทศไทย จำกัด ขนาดตัวอย่างคอนกรีตบล๊อคที่ใช้ในการทดสอบความหนาแน่นเชิงปริมาตร ความต้านแรงอัด และอัตราการดูดซึมน้ำมีขนาด 50x50x50 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ขณะที่ขนาดตัวอย่างคอนกรีตบล๊อคที่ใช้ในการทดสอบอัตราการเปลี่ยนแปลงความยาวมีขนาด 20x60x10 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษานี้คือ ปริมาณขี้เถ้าที่ใช้ในการแทนที่ในซีเมนต์ในสัดส่วนร้อยละ 0 10 20 และ 30 และความหนาแน่นของคอนกรีตบล๊อคที่ผลิตขึ้นมี 3 ระดับคือ 600,700 และ 800 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ผลการวิจัยพบว่า (1) ขี้เถ้าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตซิงด์ออกไซค์บประมาณวันละ 1,000-1,200 กิโลกรัม มีสีค่อนไปทางสีเทาเข้มคล้ายสีของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และมีลักษณะเป็นอนุภาคของแข็ง เป็นผงละเอียด (2) สัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้ขี้เถ้าแทนที่ปูนซีเมนต์ คือ คอนกรีตบล๊อคที่มีความหนาแน่น 700 และ 800 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตรซึ่งมีการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ด้วยขี้เถ้าร้อยละ 10 เมื่อนำมาเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำมอก.1505-2541 พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด (3) เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตคอนกรีตบล๊อคนี้กับคอนกรีตบล๊อคที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตาม มอก.1505-2541 และจำหน่ายในท้องตลาดโดยทั่วไป พบว่า มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าคอนกรีตบล๊อกตามท้องตลาดดังกล่าว |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/675 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
118760.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License