กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6790
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการเลือกใช้สถานบริการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing mix factors influencing the decision to choose the Elderly Care Service in Nonthaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสาวภา มีถาวรกุล สุประวีณ์ อนุมานศิริกุล, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้สูงอายุ--การดูแล--ไทย--นนทบุรี การศึกษาอิสระ--การตลาด |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ให้ข้อมูลที่มีต่อการเลือกใช้สถานดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี (2) ข้อคิดเห็นต่อระดับความสําคัญของส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการเลือกใช้สถานดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี (3) ข้อคิดเห็นต่อการเลือกใช้สถานดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี รูปแบบของการศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่าง คือบุคคลสัญชาติไทยอายุ 25 ปี ขึ้นไป ที่อยู่ในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีจํานวนประชากรทั้งสิ้น 892,685 คน ผู้ศึกษาทําการสุ่มแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว รวมจํานวน 400 คน โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปในการคํานวณ ประมวลผลและวิเคราะห์ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสถานภาพโสด ประกอบอาชีพพนักงาน บริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 20,001-40,000 บาท ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีผู้สูงอายุอยู่ในครอบครัว โดยเป็นผู้สูงอายุที่ดูแลช่วยเหลือตัวเองได้และไม่ได้ใช้บริการสถานดูแลผู้สูงอายุ (2) ข้อคิดเห็นต่อระดับความสําคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการเลือกใช้สถานบริการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี พบว่าผู้ให้ข้อมูลให้ความสําคัญต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสําคัญในระดับมากที่สุดกับด้านบุคลากรและการนําเสนอลักษณะทางกายภาพ และให้ความสําคัญระดับมากกับด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการการให้บริการ ด้านราคา ด้านการจัดจําหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลําดับ (3) ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเลือกใช้บริการสถานดูแลผู้สูงอายุแบบรายวันมากกว่าแบบรายเดือน และจะค้นหาข้อมูลสถานบริการจากอินเตอร์เน็ตมากที่สุด โดยพิจารณาสถานบริการที่อยู่ใกล้ที่พักอาศัย เป็นสัดส่วนมากที่สุด ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 15,001 – 20,000 บาท |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6790 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161402.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License