กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6809
ชื่อเรื่อง: | ทฤษฎีสองปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการย้ายงานของข้าราชการฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Two-Factors Theory affecting the decision job rotation of Administration Government Officers of Pathumwan District Office, Bangkok Metropolitan Administration |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เฉลิมพงศ์ มีสมนัย สุริยา เสนา, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี ความพอใจในการทำงาน การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทฤษฎี สองปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจในการย้ายงานของข้าราชการฝ่ายปกครอง สํานักงานเขตปทุมวัน (2) เสนอแนะแนวทาง ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการย้ายงานของข้าราชการฝ่ายปกครอง สํานักงานเขตปทุมวัน การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษา คือ ข้าราชการฝ่าย ปกครอง สำนักงานเขตปทุมวัน จำนวน 15 คน และข้าราชการที่เคยรับราชการ สังกัดฝ่ายปกครอง สํานักงานเขตปทุมวัน จํานวน 15 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 30 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จํานวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง และทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา นอกจากนี้ยังทําการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการวิจัย ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยจูงใจได้แก่ ความสําเร็จในการทํางาน การได้รับยอมรับนับถือ ความกาวหน้าในหน้าที่การงาน ลักษณะของงานที่ทําและความรับผิดชอบ และปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ นโยบายและการบริหารขององค์การ การบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล ตําแหน่งงาน ชีวิตส่วนตัวและค่าตอบแทนมีผลต่อการตัดสินใจในการย้ายงานของข้าราชการฝ่ายปกครอง สํานักงานเขตปทุมวัน (2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการย้ายงานของข้าราชการฝ่ายปกครอง สํานักงานเขตปทุมวัน คือ 1) จัดให้มีการเพิ่มค่าครองชีพพิเศษ ค่าล่วงเวลาในการทํางาน และสวัสดิการเพิ่มเติม อาทิ ค่าเช่าบ้าน หรือบ้านพักที่อยู่ใกล้กับสํานักงานเขต 2) พิจารณาแยกส่วน กลุ่มงานบริหารทั่วไปและกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ออกจากฝ่ายปกครองเพื่อเพิ่มความก้าวหน้าให้กับข้าราชการ 3) จัดอบรมเกี่ยวกับบริบทงานภาพรวมของสํานักงานเขตโดยเฉพาะอย่างยิงในฝ่ายปกครองให้กับบุคลากรระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ อย่างแท้จริง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6809 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_163373.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License