กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6839
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for curriculum administration development of anti-corruption education of schools under Krabi Primary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุลชลี จงเจริญ
ธิชานนท์ คงอ่อน, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษา--หลักสูตร
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 136 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นผู้ให้ข้อมูลในการสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ โรงละ 2 คน รวม 272 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สาหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพการบริหารหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การรายงานผลการดำเนินงาน การวางแผนการนำหลักสูตรไปใช้ การประชุมชี้แจงแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้ การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินหลักสูตร และการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา พบว่า (1) ผู้บริหารและครูควรทำความเข้าใจเนื้อหา วัตถุประสงค์ของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และควรมีการปรับโครงสร้างหลักสูตรแบบบูรณาการ (2) ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการและคำสั่งในการบริหารหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพื่อให้มีบทบาทในการขับเคลื่อนการบริหารหลักสูตรอย่างชัดเจน (3) ควรมีการประชุมชี้แจงทุกระดับเพื่อให้รับทราบและเข้าใจแนวทางความเป็นมา ความสำคัญ และการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ (4) ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามหลักสูตรและเหมาะสมกับบริบท การจัดหาสื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม การนำกิจกรรมการเรียนรู้ไปจัดสอดแทรกในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และการนำผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาพัฒนาผู้เรียน (5) ควรดำเนินการนิเทศแบบร่วมมือ การนิเทศหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการจัดกิจกรรมในห้องเรียนเพื่อนำผลมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรทุจริตศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ (6) ควรมีการรายงานผลการดำเนินงานให้ครอบคลุม เป็นระบบและต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6839
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_164592.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons