กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/684
ชื่อเรื่อง: สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขที่เข้ารับการศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์เทียบเท่าปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) ภาคพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Work competency of public health workers who are continuing their Bachelor's Degree in Nursing Science (Special Program of Continuing Education)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภช รติโอฬาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จีราภรณ์ โชติพฤกษ์ชูกุล, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
บุคลากรสาธารณสุข--ไทย
บุคลากรสาธารณสุข--การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ตามความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุข ผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุข ผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงานเกี่ยวกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข (3) ศึกษาผลกระทบของการศึกษาที่มีต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาธารณสุขที่กำลังศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์เทียบเท่าปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) ภาคพิเศษวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง ผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน จำนวนกลุ่มละ 130 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข 8 ด้าน ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.9736 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม อยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก โดยเฉพาะสมรรถนะด้านคุณธรรมและจริยธรรม (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม เกี่ยวกับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขเป็นรายด้านทั้ง 8 ด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน (3) ผลกระทบต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม ในด้านบวกพบว่าการศึกษาต่อทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการปฏิบัติงานได้เลย และยังสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ ได้ ส่วนด้านลบ พบว่า ทำให้สุขภาพทรุดโทรม เครียด และค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/684
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83130.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons