Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6858
Title: | ประสิทธิภาพของการผลิตเมื่อได้ดำเนินงานตามมาตรฐานสากลการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี : กรณีศึกษา บริษัทสยามไวเนอรี่ เทรดดิ้ง พลัส จำกัด |
Other Titles: | Production Efficiency after Implementation of Good Agricultural Practices : A Case study Siamwinery Trading Plus Company Limited |
Authors: | ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์ สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ ชาวไร่ กาญจโนมัย, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ องุ่น--การปลูก หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อกำหนดการจัดการไร่องุ่นไวน์ ตามมาตรฐานสากลการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (2) การนำระบบมาตรฐานสากลการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจไร่องุ่น (3) ประสิทธิภาพการผลิตองุ่น เมื่อได้ดำเนินงานตามมาตรฐานสากลการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยตรวจสอบ โดยได้มีการพัฒนาร่างข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับองุ่น จากนั้นนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการของไร่องุ่นหัวหินฮิลส์ บริษัทสยามไวเนอรี่ เทรดดิ้งพลัส จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ แล้วรวบรวมข้อมูลจาก ปริมาณผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ คุณภาพผลผลิตและต้นทุนผันแปร นำมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต เปรียบเทียบระหว่างปีที่ปฏิบัติตามมาตรฐานสากลการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี (2010 และ 2011)และปี ที่ยังไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานสากลการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี (2009) โดยใช้สถิติเชิงพรรณาในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อกำหนดประกอบด้วย เกณฑ์กำหนด และวิธีตรวจประเมิน ตามมาตรฐานสากลการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับองุ่น มีหัวข้อของข้อกำหนด ดังนี้คือ 1) แหล่งน้า 2) พื้นที่ปลูก 3) การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร 4) การจัดการในกระบวนการผลิตก่อนเก็บเกี่ยว 5) การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว6) การเก็บรักษาและขนย้าย 7) สุขลักษณะส่วนบุคคล และ 8) การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ (2) ขั้นตอนการนำร่างมาตรฐานสากลการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจไร่องุ่น มีขั้นตอนดังนี้ 1) ให้ความรู้กับหัวหน้างาน คนงาน และผู้เกี่ยวข้อง 2) ดัดแปลงตารางการให้สารเคมี จากบันทึกช่วยจำเป็นโปรแกรมซอฟ์ แวร์ 3) มีการวิเคราะห์ดินเป็นประจำ 4) ปลูกปอเทืองก่อนทำแปลงองุ่นและใส่ปุ๋ยคอกทุกปี 5) ใส่ปุ๋ยเคมีไปกับระบบน้า หยดเพื่อเป็นการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 6) มีการปลูกพันธ์องุ่นที่ต้านทานโรคและแมลงเพิ่มขึ้น ทำให้ใช้สารเคมีน้อยลง 7) มีการเก็บเกี่ยวในเวลาที่เหมาะสมรวมทั้งทำการวิเคราะห์สารตกค้างด้วย 8) มีการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยและปรับปรุงระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างเป็นระบบ พร้อมทำบันทึกการทำงานซึ่งสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา 9) พนักงานและคนงานมีรายได้และสวัสดิการอย่างเหมาะสมซึ่งสามารถดำรงชีพได้อย่างมีความสุข และก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (3) เมื่อมีการปรับปรุงระบบการทำงานตามมาตรฐานสากลการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีแล้ว ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนโดยปริมาณผลผลิตองุ่นแดงเพิ่มขึ้นจากปี 2009 เป็นร้อยละ 117.65 และ 190.43 ในปี 2010 และ 2011 ตามลำดับ และองุ่นเขียวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 256.77 และ 319.77ตามลำดับ สำหรับผลผลิตต่อไร่ องุ่นแดงเพิ่มขึ้นจากปี 2009 เป็นร้อยละ 129.31 และ 172.41 ในปี 2010 และ 2011 ตามลำดับ และองุ่นเขียวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 113.89 และ 151.39 ตามลำดับ และสำหรับคุณภาพผลผลิตจะวัดจากเปอร์เซ็นต์ความหวาน โดยองุ่นแดงเพิ่มขึ้นจากปี 2009 เป็นร้อยละ 2.77 และ 4.95 ในปี 2010 และ 2011 ตามลำดับ และองุ่นเขียวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.01 และ 10.22 ตามลำดับ ส่วนต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อไร่มีแนวโน้มลดลง โดยลดลงร้อยละ 5.00ในปี 2011 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6858 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
134115.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License