Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6859
Title: การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
Other Titles: Academic administration with the use of information and communication technology of school administrators under of the Secondary Educational Service Area Office 1
Authors: อรรณพ จีนะวัฒน์
นพดล อารมณ์รัตน์, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารการศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา และระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ (3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 59 คน และครูจาก 59 โรงเรียน โรงเรียนละ 8 คน รวมได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวนรวม 531 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ระดับการบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียนเทียบการบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามสภาพความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า สถานศึกษาที่มีสภาพความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูง ผู้บริหารมีการบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากกว่าสถานศึกษาที่ไม่มีสภาพความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนตํ่าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ (3) แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า ผู้บริหารควรพัฒนาการบริหารวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา และควรสนับสนุนให้ครูและบุคลากร พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลโดยเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลส่วนกลาง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6859
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_156576.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.37 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons