กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6860
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพในการให้บริการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ กรณีศึกษาเปรียบเทียบกองพัฒนานักศึกษากับกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency in service of academic support staff : a comparative study of division of student affairs and division of academic service at Suan Sunandha Rajabhat University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิวพงษ์ อ้อพงษ์, 2532- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ประสิทธิภาพ
การทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิภาพในการให้บริการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ระหว่างกองพัฒนานักศึกษากับกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ (2) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการให้บริการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ระหว่างกองพัฒนานักศึกษากับ กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 19,822 คน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างรวม 120 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบโควต้า ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าเอฟ ในส่วนของการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลด้วยการบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับประสิทธิภาพในการให้บริการของบุคลากรสายสนับสนุน วิชาการ สังกัดกองพัฒนานักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนบุคลากรสังกัดกองบริการการศึกษาพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน และ (2) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการให้บริการ พบว่า บุคลากรสังกัดกองพัฒนานักศึกษา มีระดับประสิทธิภาพในการให้บริการมากกว่าบุคลากรสังกัดกองบริการการศึกษา สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขและปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ มหาวิทยาลัยควรจัดให้มีโครงการฝึกอบรมพัฒนาบุคลิกภาพของบุคลากรที่ให้บริการ อันเป็นการสร้างวัฒนธรรมการให้บริการที่ดีให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีใจรักในการให้บริการมากขึ้น ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติคือ ให้หน่วยงานภายในมีการสอนงานหรือให้คำแนะนำจากผู้บังคับบัญชาระดับต้นหรือเพื่อนร่วมงาน และจัดทำกล่องรับแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาที่มารับบริการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6860
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_158799.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons