Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6866
Title: ความต้องการของผู้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของบริษัท ตั้งใจพัฒนา (2547) จำกัด
Other Titles: Customer needs in motorcycle leasing of Tangjaipattana (2547) Company Limited
Authors: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนธิกาญจน์ เบ็ญหร่าเหม, 2520- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
จักรยานยนต์--การจัดซื้อ
เช่าซื้อ
การศึกษาอิสระ--การตลาด
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ (2) ความต้องการด้านที่เป็นตัวเงินของผู้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ (3) ความต้องการด้านที่ไม่เป็นตัวเงินของผู้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ของบริษัท ตั้งใจพัฒนา (2547) จํากัดการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรคือ ผู้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ของบริษัท ตั้งใจพัฒนา (2547) จํากัด จํานวน 2,236 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโรยามาเน่ ด้วยความ เชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้จํานวน 340 สุ่มตัวอย่างแบบโควตา ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาสูงสุดอยู่ระดับมัธยมศึกษา อาชีพทําสวน ทําไร่ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,000-15,000 บาท (2) ความต้องการด้านที่เป็นตัวเงินของผู้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสําคัญโดยรวมในระดับมาก เมื่อจําแนกเป็นรายด้าน พบว่ามีระดับความ ต้องการด้านที่เป็นตัวเงินทางตรง และด้านที่เป็นตัวเงินทางอ้อมอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยความต้องการด้านที่เป็นตัวเงินทางตรง ให้ความสําคัญด้านราคาขายมีความเหมาะสมกับคุณภาพของรถจักรยานยนต์ ส่วนความต้องการด้านที่เป็นตัวเงินทางอ้อมให้ความสําคัญกับการให้ส่วนลดยอดเมื่อชําระหมดก่อนกำหนด (3) ความต้องการของผู้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ด้านที่ไม่เป็นตัวเงินพบว่าให้ความสําคัญโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจําแนกเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีระดับความต้องการอยู่ในระดับมากโดยเรียงลําดับคือ ด้านบุคลากร ด้านภาพลักษณ์ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการบริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการ ส่งเสริมการตลาด ด้านการจัดจําหน่าย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6866
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_161412.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons