กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6877
ชื่อเรื่อง: | การบริหารงานตามเกณฑ์การพัฒนาและรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลของโรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Administration according to the Hospital Quality Development and Accreditation Standard of Sena Hospital, Pha Nakhon Si Ayutthaya Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปภาวดี มนตรีวัต เสาวนีย์ โรจนบุรานนท์, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รังสรรค์ ประเสริฐศรี |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาล--การรับรองคุณภาพ โรงพยาบาล--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสาเร็จของการบริหารงานตามเกณฑ์การพัฒนาเพื่อรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลของโรงพยาบาลเสนา (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการดำเนินงานตามเกณฑ์การพัฒนาเพื่อการรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลของโรงพยาบาลเสนา (3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานตามเกณฑ์การพัฒนาเพื่อการรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลของโรงพยาบาลเสนา การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาประชากรทั้งหมดซึ่งได้แก่ ข้าราชการ และลูกจ้างประจำของโรงพยาบาลเสนา จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ความสำเร็จของการบริหารงานตามเกณฑ์การพัฒนาเพื่อรับรองคุณภาพ มาตรฐานโรงพยาบาลของโรงพยาบาลเสนา อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยสนับสนุนการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานตามเกณฑ์การพัฒนาเพื่อการรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลของโรงพยาบาล เสนาในภาพรวม ได้แก่ค่านิยมร่วม กลยุทธ์ รูปแบบการบริหาร บุคลากร และระบบ โดยตัวแปรทั้ง 5 ร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จได้ร้อยละ 68.9 (3) ปัญหาอุปสรรค บุคลากรโรงพยาบาลขาดความรู้ความเข้าใจในระบบ การพัฒนาคุณภาพขาดการประสานงานและความร่วมแรงร่วมใจในการปฏิบัติงานเป็นทีม ตลอดจน ขาดงบประมาณ ขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการจะนำ ไปสู่การพัฒนาคุณภาพงานและบริการ ขาดแรงจูงใจใน การพัฒนาคุณภาพ ข้อเสนอแนะ คือผู้บริหารควรส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและการทำงานเป็นทีม ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเพิ่มทักษะและมีจิตสำนึกเต็มใจบริการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกระตือรือร้น รวมทั้งเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะงบประมาณด้านวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และการพัฒนาเทคโนโลยีในการให้บริการประชาชน งบประมาณในการปรับปรุงอาคารสถานที่ที่ให้บริการเพื่อความเพียงพอและพร้อมสำหรับการให้บริการประชาชน รวมถึงค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานนอกเวลาทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพบังเกิดขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6877 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
134782.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License