Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/689
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมของเภสัชกรในโรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6
Other Titles: Factors affecting pharmance in community hospitals in Public Health Inspection Region 6
Authors: วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารุวรรณ จุลสัตย์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การจูงใจในการทำงาน
เภสัชกร--ความพอใจในการทำงาน
การทำงาน
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยคํ้าจุน และระดับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม (2) อิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ต่อผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม และ (3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมของเภสัชกรในโรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 ประชากรในการวิจัย ได้แก่ เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 ทุกคน จำนวน 156 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 ได้รับแบบสอบถามคืน 126 ชุด คิดเป็นร้อยละ 80.7 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเที่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 33.33 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท ประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 9.22 ปี การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่ในระดับสูง ปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัยคํ้าจุนอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ได้แก่ปัจจัยจูงใจและปัจจัย คํ้าจุนโดยร่วมกันพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมไต้ร้อยละ 30.70 และ (3) ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่สำคัญได้แก่ความยุ่งยากในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการใช้ยา อย่างสมเหตุสมผลข้อเสนอแนะคือผู้บริหารควรกำหนดให้การปฏิบัติงานต้านการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและการศึกษาวิจัยเป็นนโยบายระดับโรงพยาบาล มีผู้รับผิดชอบชัดเจนมีแผนการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงาน ควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งเภสัชกร รวมถึงการพิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งตามผลการปฏิบัติงาน
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/689
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
125067.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons