กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6909
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อวัตถุดิบของผู้ผลิตเครื่องใช้เซรามิคบนโต๊ะอาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Influence factors to raw materials purchasing decision of ceramics tableware manuacturers manuacturers [i.e. manufacturers]
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร
จิตรา รักความดี, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุจิตรา หังสพฤกษ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
การตัดสินใจ
วัตถุดิบ
เครื่องเคลือบดินเผา
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึง (1) ลักษณะทั่วไปของกิจการของผู้ผลิตเครื่องใช้เซรามิคบนโต๊ะอาหาร (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยการตัดสินใจซื้อของผู้ผลิตเครื่องใช้เซรามิคบนโต๊ะอาหาร (3) พฤติกรรมการซื้อวัตถุดิบของผู้ผลิตเครื่องใช้เซรามิคบนโต๊ะอาหาร (4) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยการตัดสินใจซื้อจำแนกตามลักษณะทั่วไปของกิจการ การวิจัยเชิงสำรวจนี้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการที่ดำเนินการผลิตเครื่องใช้เซรามิคบน โต๊ะอาหารโดยการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 155 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะทั่วไปของกิจการของผู้ผลิตเครื่องใช้เซรามิคบนโต๊ะอาหารดาเนินกิจการโดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบบุคคลหรือคณะบุคคลและบริษัท ประกอบกิจการมามากกว่า 10 ปี และมีเจ้าของเป็นคนไทย ผลิตสินค้าประเภทถ้วย จาน ชามเป็นหลัก เป็นการขายทั้งในและต่างประเทศ(2) ระดับความสำคัญของปัจจัยการตัดสินใจซื้อของผู้ผลิตเครื่องใช้เซรามิคบนโต๊ะอาหารพบว่าให้ความสำคัญต่อปัจจัยการตัดสินใจซื้อวัตถุดิบได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาและด้านลักษณะของผู้ขายและการให้บริการในระดับสำคัญมาก (3) พฤติกรรมการซื้อวัตถุดิบของผู้ผลิตเครื่องใช้เซรามิคบนโต๊ะอาหาร พบว่า การสั่งซื้อสินค้าจะขึ้นอยู่กับแผนการผลิต จะสั่งซื้อสัปดาห์เว้นสัปดาห์ โดยสั่งซื้อมาเพื่อเก็บสต๊อก ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อเป็นผู้บริหาร/เจ้าของกิจการและมีการชำระค่าสินค้าในรูปแบบของการได้รับเครดิตการค้าจากผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (4) ผลการเปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัย การตัดสินใจซื้อจำแนกตามลักษณะทั่วไปของกิจการ พบว่าลักษณะทั่วไปของกิจการต่างๆได้แก่ ประเภทกิจการ จำนวนพนักงาน ลักษณะของกิจการ ยอดขายต่อปี รูปแบบสินค้าที่ผลิต ตลาดเป้าหมายที่มีความแตกต่างกันในแต่ละลักษณะทั่วไปของกิจการให้ความสำคัญกับปัจจัยการตัดสินใจซื้อวัตถุดิบโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่สำหรับระยะเวลาในการประกอบการไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6909
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137369.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons