Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/692
Title: รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: Model for organizing recreational activities to develop adaptability of the elderly in Mueang District, Udon Thani Province
Authors: สมชาย สภา
สารีพันธุ์ ศุภวรรณ
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล
Keywords: ผู้สูงอายุ -- นันทนาการ
Issue Date: 2563
Publisher: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Citation: วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 13, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2563), หน้า 145-156
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 285 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามความต้องการจัดกิจกรรมนันทนาการ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 2) รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการผู้สูงอายุมีค่าความสอดคล้องภายในอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 3) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบ และระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายและสอบถามความสมัครใจ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 และ 2) แนวทางการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา แผนกิจกรรม สื่อและอุปกรณ์ และการประเมินผล 2) ผู้สูงอายุมีความสามารถในการปรับตัวหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะ คือ ด้านการประเมินผลกิจกรรมนันทนาการควรใช้วิธีการประเมินตามสภาพจริง และด้านระยะเวลาในการจัดกิจกรรมนันทนาการ ควรกำหนดเวลาในการทำกิจกรรมแบบยืดหยุ่นและคำนึงถึงความสามารถในการทำกิจกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุแต่ละคน
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/692
ISSN: 1905-4653
Appears in Collections:STOU Education Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
44306.pdfเอกสารฉบับเต็ม457.33 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons