Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6932
Title: การประเมินผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีของเครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดตราด
Other Titles: Evaluation of good governance process in Trat Community Networks
Authors: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
จันทนา เสี่ยงสลัก, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุรพร เสี้ยนสลาย
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
องค์กรชุมชน--ไทย--ตราด
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีของเครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดตราด (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีของเครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดตราด (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางและวิธีปฏิบัติงานของเครือข่ายองค์กรชุมชนในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีของเครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดตราด รูปแบบการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่เป็นหน่วยการศึกษาวิจัยคือ เครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดตราด 9 เครือข่าย ตัวแทนประชากรจำนวน 72,704 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ .95 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ (1) การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ (2) การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน ใช้การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน (Regression Model stepwise) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้กรอบรูปแบบการประเมินผลโครงการ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีของเครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดตราด มีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 (2) ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีของเครือข่ายแต่ละเครือข่ายมีความแตกต่างกัน ตัวแปรที่สามารถอธิบายความสำเร็จของการพัฒนาระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีของเครือข่ายองค์กรชุมชน คือ ตัวแปรด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติตัวแปรด้านสมรรถนะในการทำงาน ตัวแปรด้านความคาดหวัง และผลประโยชน์ ตัวแปรด้านการมีส่วนร่วม และ ตัวแปรด้านการพัฒนาองค์การ อธิบายรวมกันได้ร้อยละ78.2 (3) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยได้แก่ ควรพัฒนาศักยภาพแกนนา ให้มีความรู้และสามารถพัฒนาการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี การมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่คนรุ่นใหม่ การนำเครือข่ายองค์กรชุมชนเข้าสู่การรับรองสถานภาพองค์กรชุมชนและการจดแจ้ง จัดตั้งสภาองค์กรชุมชน การทำแผน การเคลื่อนงานจากฐานข้อมูลจริงจากชุมชน การนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ได้แก่ ศีล 5 หิริโอตตัปปะ พรหมวิหาร 4 และอิทธิบาท 4 การมีเจตคติที่ดี การตรวจสอบติดตาม ประเมินผลแบบเสริมพลัง การพัฒนาระบบการเงิน/บัญชี ส่งเสริมการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินงาน ร่วมรับผิดชอบ และร่วมติดตาม เครือข่ายองค์กรชุมชนจะเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ สามารถแก้ไขปัญหาพัฒนาชุมชน นำชุมชนตราดสู่การมีสุขอย่างยั่งยืน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6932
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
138395.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons