Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6942
Title: พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Other Titles: Behavior of using social network online of undergraduates
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ
พิมพ์สุรีย์ พงษ์เสือ, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--วิทยานิพนธ์
เครือข่ายสังคมออนไลน์--การศึกษาการใช้
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งชายและหญิงทั่วประเทศที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ กำหนดขนาดตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยการเปิดตารางยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่า กว่า 20 ปี ศึกษาในคณะวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ระดับชั้นปี ที่ 3 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001 – 10,000 บาท เป็นสมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คมากที่สุด และเข้าใช้งานบ่อยที่สุด โดยมีเหตุผลเพื่อติดต่อกับเพื่อน กิจกรรมที่กระทำในเครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ การสนทนา กลุ่มตัวอย่างมีการใช้บริการในช่วงเวลา 21.00 – 01.00 น. และใช้ บริการทุกวัน วันละ 3 ชั่วโมงขึ้นไป โดยเข้าใช้งานจากที่บ้าน หรือหอพักมากที่สุด ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด คือ ตนเอง และส่วนใหญ่ใช้โน้ตบุ๊คในการเข้าใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ และเข้าถึงโดยการใช้วายฟาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเพศกับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้ง 5 ด้าน คือด้านการเลือกใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ ด้านช่วงเวลา ด้านสถานที่ ด้านผู้มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้และด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยด้านรายได้กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า รายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 3 ด้าน คือ ด้านการเลือกใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ ด้านช่วงเวลา และด้านสถานที่ในการใช้ และปัจจัยด้านรายได้ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มี 2 ด้าน คือ ผู้มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้เว็บไซต์ และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6942
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139736.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons