กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6947
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราชในการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Motivating factors affecting the performance of Nakhon Si Thammarat social and security development volunteers on surveillance and social warning |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์ ณัฐจารีย์ จินดาวงศ์, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปภาวดี มนตรีวัต |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม (2) เปรียบเทียบระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมและ (4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือประชากรทั้งหมด ซึ่งได้แก่อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผู้ที่มี เพศ อายุ รายได้ต่างกันมีระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ที่มีระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานได้แก่ความพอใจในหน้าที่งานและสัมพันธภาพ โดยตัวแปรทั้งสองสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 46.60 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (4) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาในการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐ ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ควรสร้างแรงจูงใจให้แก่อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เช่น จัดสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ แก่อาสาสมัครรวมทั้งการตรวจสุขภสพประจำปี นอกจากนั้น ควรจัดให้มีการศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์และควรเพิ่มจำนวนอาสาสมัครให้มากขึ้นในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6947 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
139956.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License