กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6957
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลการบริหารจัดการน้ำชลประทานในคูส่งน้ำ : กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย : จังหวัดขอนแก่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness of irrigation management in water supply ditch of the IV operation and maintenance Branch, Nong Wai Operation and maintenance project, Khon Kaen Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปภาวดี มนตรีวัต มานิจ รำมะนา, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อิทธิเดช จันโททัย |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ ชลประทาน--ไทย การจัดการน้ำ--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในคูส่งน้ำ ของฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย จังหวัดขอนแก่น (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในคูส่งน้ำ ของฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย จังหวัดขอนแก่น (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับประสิทธิผลในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในคูส่งน้ำ ของฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา ที่ 4 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย จังหวัดขอนแก่นจำแนกตามพื้นที่ และ (4) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในคูส่งน้ำ ของฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และใช้น้ำชลประทานในคูส่งน้ำ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย จังหวัดขอนแก่น ที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานในคูส่งน้ำ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 จำนวน 796 ราย กลุ่มตัวอย่าง 266 ราย คำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า (1) ประสิทธิผลการการบริหารจัดการน้ำชลประทานในคูส่งน้ำ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการน้ำชลประทานในคูส่งน้ำ ได้แก่ การบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ ชลประทาน การบริหารจัดการของเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานในคูส่งน้ำ และการมีส่วนร่วมของเกษตรกร โดยตัวแปรทั้ง 3 สามารถอธิบายความมีประสิทธิผลได้ร้อยละ 89.90 (3) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับประสิทธิผลในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในคูส่งน้ำ ของฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา ที่ 4 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวายจังหวัดขอนแก่นจำแนกตามพื้นที่ พบว่าความคิดเห็นของกลุ่มสมาชิกต้นคูส่งน้ำและกลุ่มสมาชิกกลางคูส่งน้ำไม่แตกต่างกัน (4) ปัญหาเกี่ยวกับบริหารจัดการน้ำชลประทานในคูส่งน้ำ พบว่า ปลายคูส่งน้ำได้รับน้ำน้อยและล่าช้าไม่สม่ำเสมอ ขาดงบประมาณในการดูแลรักษาคูส่งน้ำ เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจ ในการใช้น้ำชลประทาน สำหรับข้อเสนอแนะ พบว่า ควรจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร และควรมีการจัดประชุมก่อนส่งน้ำ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิผลการบริหารจัดการน้ำชลประทานในคูส่งน้ำสูงขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6957 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
140323.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License