กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6962
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของครู โรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Administrators’ roles in promoting work performance efficiency of teachers in private schools in Mueang District, Samut Prakan province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ เนตรนภา เต็มใจ, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้บริหารโรงเรียน โรงเรียน--การบริหาร ครู--ภาระงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทางานของครูโรงเรียนเอกชนในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และ (2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทางานของครูโรงเรียนเอกชนในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 205 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในทางวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ผลการศึกษาปรากฏว่า (1) บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทางานของครูโรงเรียนเอกชนในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ด้านการสนับสนุนทรัพยากรการเรียนการสอน ด้านการนิเทศการเรียนการสอน ด้านการส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพ และด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ และ (2) บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทางานของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ซึ่งแบ่งเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการสนับสนุนทรัพยากรการเรียนการสอน ด้านการนิเทศการเรียนการสอน ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจและด้านการส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6962 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159554.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License